กองบริหารจัดการองค์ความรู้

การประปานครหลวง

image

KM CENTER

KM Facilitator

นักจัดการความรู้  (KM Facilitator) คือ บุคคลที่มีหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมการจัดการความรู้ของหน่วยงาน/สายงาน ให้คำปรึกษา/แนะนำกับบุคลากรอื่น ๆ ในเรื่องหลักการ และวิธีการจัดการความรู้ การจัดทำองค์ความรู้ (Explicit knowledge) ต่าง ๆ การบันทึกองค์ความรู้ ในระบบสารสนเทศการจัดการความรู้ขององค์กร การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Lesson learned) แนวทางปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ระหว่างหน่วยงาน/ข้ามสายงาน รวมถึงการนำเครื่องมือ และเทคนิคการใช้องค์ความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity Knowledge Techniques and Tool) ไปใช้ในการจัดการการความรู้ และการวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดแนวทางการปรับปรุงวิธีการขั้นตอนการทำงาน/การกระบวนงาน

บทบาทของนักจัดการความรู้  (KM Facilitator)



1. เป็นผู้เป็นประสานงาน (Coordinator) เพื่อติดต่อกับผู้มีส่วนร่วมได้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
2. เป็นผู้กระตุ้น (Catalyst) ให้เกิดการเรียนรู้ผ่านคาถามปลายเปิด คำถามแตกองค์ประกอบ คำถามสร้างความตระหนักรู้ เพื่อดึงพลังหรือศักยภาพของผู้เข้าร่วมให้เห็นถึงปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และทางออกร่วมกัน
3. เป็นผู้สังเกตการณ์(Observer) ในเวทีถึงพฤติกรรมความรู้สึกและวิธีคิดของผู้เข้าร่วมเพื่อปรับกระบวนการให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
4. เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (Climate Setter) ให้กลุ่มผ่อนคลาย เป็นกันเองและสร้างความไว้วางใจเพื่อให้เกิดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป็นผู้ช่วยการสื่อสาร (Communicator Enabler) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ อย่างเต็มที่ เต็มใจและเปิดกว้างที่จะรีบฟังอย่างใคร่ครวญ
6. เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ (Learning Coach) ให้ผู้เข้าร่วมได้เล่าถึงประสบการณ์และวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัว นาไปสู่การพัฒนาและจัดการตนเองที่ประสบความสำเร็จ

 

>> หน้าที่ของนักจัดการความรู้ (KM Facilitator) มีดังนี้
- สนับสนุนกิจกรรมการจัดการความรู้ของหน่วยงาน/สายงาน, ให้คาปรึกษา/แนะนำกับบุคลากรอื่นๆ ในเรื่องหลักการ และวิธีการจัดการความรู้
- จัดทำองค์ความรู้ และให้คำปรึกษา/แนะนำกับบุคลากรอื่นๆ ในการจัดทาองค์ความรู้ (Explicit knowledge) ต่างๆ ,การบันทึกองค์ความรู้ ในระบบสารสนเทศ KM ขององค์กร ,การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศระหว่างหน่วยงาน/ข้ามสายงาน
- ให้คำปรึกษา/แนะนากับบุคลากรอื่นๆ ในการนา Productivity Knowledge Techniques & Tool ไปใช้ในการจัดการการความรู้ และการวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดแนวทางการปรับปรุงวิธีการขั้นตอนการทำงาน/การกระบวนงาน


>> Productivity Knowledge Techniques & Tool ประกอบด้วย
- KM Tools เช่น OPL, OPK, OPA, K-MAP, K-LANDSCAPE เป็นต้น และ
- Analysis Tools & Techniques เช่น Cause & Effect diagram Why-Why Analysis 5W1H เป็นต้น)

ทำเนียบนักจัดการความรู้ (KM Facilitator)